Thailand: Nation, Religion, King | |||||||
Royal Thai Police | Royal Thai Military | Contact |
HOME -> MINISTRY OF DEFENSE -> ROYAL THAI NAVY -> ROYAL THAI MARINES |
NOTE: The following information was translated from the official Royal Thai Marines site. Although we have done our best to insure a correct translation, any comments, corrections, or additional information is appreciated and will be incorporated into the site. | ||
Royal Thai Marines HISTORY | ||
In the past, the Thai military was divided into two groups, the army and navy. Traditionally, troops were transported close to their destination by ships travelling on the many waterways. They then marched over land until they reached their destination. Canons mounted on ships were also used to weaken and destroy enemy troops and fortifications. Prior to the invasion of Ayutthaya by the Burmese, ships were mostly used for trade, ceremonies such as the Royal Barge Procession, and also welcoming foreign visitors. King Taksin the Great, born in 1733, was a brilliant leader who reunited Thailand after the Burmese invasion and destruction of Ayutthaya. After the fall of Ayutthaya, he personally created a fleet of ships and planned the liberation of the city. Within 7 months of the fall of the city, his fleet surprised the Burmese and retook the city. The liberation of Ayutthaya maked a turning point in Thai military history. In order to recapture the city, King Taksin attempted to draft into the military numerous Chinese Junks on the Trat river. The crews refused and after a fight, King Taksin captured the ships and the weapons on board. He then went back to Chantaburi and ordered more vessels built, finally assembling a small armada. At the end of the rainy season, when the area surrounding Ayutthaya was flooded, the ships were loaded with soldiers and sent to recapture the city. This heroic performance is considered the first amphibious assault in Thai military history. According to Thai military history, the "Thahan Ma-Rine", or "Marine Soldiers" were established in 1833 during the reign of King Rama the Third. The word "Ma-Rine" is a direct translation of the English word, "Marine". The development of the Marine Corps can be divided into three periods: 1. Former Age (1924 - 1932) 2. Post Revolution (1932 - 1955) 3. New Age (1955 - now) The Marine Corps, or Marine Soldiers, in the former age were mostly a Royal Honor Guard and involved with the security of the King when he travelled around the country. On March 2, 1913, the Ministry of the Navy set up a new unit that caused the Marines to be organized as follows: - The Marine Canon Platoon was moved to be attached to the Operation Command Department of Ships and Fortresses. - The Marine Solidiers Infantry Platoon in Bangkok was moved to be attached to the Vehicle Division which was in control of the Department of the Navy Amphibious Assault Group. The vehicle division played a very important role because Marines were included in this battalion. The Revolution in 1932 replaced Thailand's absolute monarchy with a democratic regime which also caused a reorganization of the Navy. As part of this reorganization, the vehicle battalion became the Marine Corps Battalion under the Bangkok Navy Station. This Battalion is reguarded as the first Marine Corps Battalion in Thailand. In the year 1937, the 2nd Marine Corps Battalion was set up at Sattahip. This unit was responsible for setting up the main Marine Corps Department at Sattahip in 1939. Until 1940, there was a dispute along the eastern border of Thailand with French Indo-China. The Marine Corps Department "Chanthaburi Division" fought several times along this border region. During WWII, the Marine Corps fought in Chonburi Province and sent troops to protect the Malayu State Region in the South of Thailand and also Phuket Province. After WWII ended, the Marines were used to help disarm the Japanese Army at Baan Pong District in Rachaburi Province. In 1950 when there was an uprising in the South of Thailand, Marine Corps Troop 6 was sent to help restore the peace in Narathiwat Province. On June 29, 1951, the government disbanded the Marine Corps Bureau and scattered the Marines into other departments for four years. During that time, the Cold War between Western Democracies and Eastern Communist Nations started to grow and become a more serious concern. Luckily, the Thai Marine Corps were supported by both the United States Military and also the Royal Thai Navy. As the Cold War progressed, the Thai Government and Royal Thai Navy realized the important role of the Thai Marine Corps and reestablished the Marine Corps Department on July 30, 1955 and started a new era for the Marines. In 1961, tensions flaired over Wat Preah Vihear Temple on the Cambodian border. This tension along the Chanthaburi and Trat borders with Cambodia gave the Marine Corps one of their first assignments. Since 1970, the Chanthaburi-Trat Task Force has been officially protecting this area along the Cambodian border. From 1972 to 1973, the Marines were involved in the "Sam-Chai" anti-communist operations in Petchaboon Province and the "Pha-Phum" anti-communist operations in Chieng Rai Province. From 1973 to 1974, the Marines were involved in anti-communist operations in the southern provinces of Pattani, Yala and Narathiwat. Since the year 1975, Marines have been working in Narathiwat from then til now by settting up the special forces marine corps in the South for suppressing the communists. In 1977, the Marines captured the communist camp at Krung-Ching in Nakhon Si Thammarat Province and stayed there until pulling back in 1981. The Royal Thai Navy has also sent the Marines to help in supressing the many violent demonstrations and coups in Bangkok. The Marines are still responsible for border security in Chanthaburi and Trat provinces. They have also fought in the battles of Baan Hard Lek, Baan Koat Sai, Baan Nhong Kok, Baan Kradook Chang, Baan Chumrark and also in the North East Region in the battle of Hard Don Nai in Nakhon Phanom Province. Many Thai Marines have died in past wars and continue to be wounded and killed in active service today. Their utmost sacrifice should be praised and admired as a heroic performance for the next generation of Marine Corps Soldiers. In Sattahip, the Marine Corps has built a monument to all Marines as a memorial to those who have died bravely in battle as Royal Thai Marines. |
กำลังรบในอดีต มิได้มีการแบ่งแยก ออกเป็นกองทัพบก และกองทัพเรือ ดังเช่นปัจจุบัน เมื่อมีการยาตราทัพ เพื่อทำสงครามในสมัยโบราณ นิยมยกทัพไปทางเรือจน สุดทางน้ำ จึงยกทัพโดยทางบกต่อไป เนื่องจากการเดินทางโดยใช้เรือเป็นพาหนะ สามารถลำเลียงทหาร เสบียง เครื่องศาสตราวุธไปได้คราวละมาก ๆ และยังสามารถใช้บรรทุก ปืนใหญ่ระดมยิงที่มั่นหรือค่ายของข้าศึกได้ด้วย ในยามใด ที่บ้านเมืองปราศจากศึกสงคราม ก็นำเรือเหล่านั้นมาใช้ในพิธีที่สำคัญต่าง ๆ เช่น พิธีการทอดกฐินทางชลมารค พิธีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ในฐานะ ผู้บัญชาการกองทัพเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบก และผู้บัญชาการกองกำลังยกพลขึ้นบก ในสงครามกู้ชาติ พ.ศ.๒๓๑๐ ในการกอบกู้เอกราชเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรี เข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าโจมตีเมืองธนบุรี แล้วจึงยกกองทัพเรือไปตีกรุงศรีอยุธยา จนสามารถกอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนมาได้ นับว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ ในการนำกองทัพเข้าทำการรบ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบกหรือทัพเรือ นอกจากนั้นพระองค์ยังสามารถ นำกำลังทางเรือขึ้นบก ปราบปรามข้าศึกได้สำเร็จด้วย นับว่าเป็นการปฏิบัติการรบ ยกพลขึ้นบกที่สำคัญที่สุดในอดีตที่ผ่านมา ตามประวัติศาสตร์การทหารของประเทศไทย ได้มีการจัดตั้ง "ทหารมะรีน" ขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๓๖๗ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ คำว่า "ทหารมะรีน" ตามคำภาษาไทย มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ "Marines" วิวัฒนาการของทหารนาวิกโยธิน ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนสามารถแบ่งประวัติความเป็นมา ที่สำคัญได้เป็น ๓ ยุค คือ 1. ยุคเริ่มต้น (พ.ศ.๒๔๖๗-๒๔๗๕) 2. ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๙๘) 3. ยุคใหม่(พ.ศ.๒๔๙๘-ปัจจุบัน) ทหารนาวิกโยธิน หรือทหารมะรีน ในยุคต้นๆได้มอบหน้าที่ให้เป็นทหารกองเกียรติยศ สำหรับเสด็จเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งเป็นหน่วยทหารสมัยใหม่ ด้วยการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ มีขีดความสามารถ ในการปฏิบัติการยุทธ สะเทินน้ำสะเทินบก การรบทางบกและการรบพิเศษ เยี่ยงหน่วยทหารสมัยใหม่โดยทั่วไป เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๖ กรมทหารเรือได้มีคำสั่งจัดหน่วยใหม่ ทำให้ทหารมะรีน ถูกจัดไปประจำหน่วยทหารต่างๆ ในกรมทหารเรือ ดังนี้ ทหารมะรีนเหล่าปืนใหญ่ ย้ายไปประจำกรมบัญชาการเรือกล และป้อม ส่วนทหารมะรีนเหล่าทหารราบในกรุงเทพฯ ย้ายไปประจำในกองพาหนะ ซึ่งขึ้นอยู่กับกรมบัญชาการทหารเรือขึ้นบก ต่อมากองพาหนะนี้ เป็นหน่วยที่สำคัญมาก เพราะทหารมะรีนเหล่าทหารราบ ได้มารวมอยู่ในกองพันนี้ ทหารมะรีนยึดถือว่า กองพันพาหนะนั้นเป็น กองพันทหารมะรีนกองพันแรก เพราะเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ประเทศไทยได้เปลี่ยนการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้กองทัพเรือ ได้มีการจัดการหน่วยใหม่ เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงแปรสภาพกองพันพาหนะ เป็นกองพันนาวิกโยธิน อยู่ในอัตราของสถานีทหารเรือกรุงเทพฯ นับได้ว่าทหารนาวิกโยธิน ได้มีอย่างแท้จริงเป็นกองพันแรก พ.ศ.๒๔๘๐ ได้มีการจัดตั้งกองพันนาวิกโยธินที่ ๒ ขึ้นที่สัตหีบ ซึ่งเป็นกองพันนาวิกโยธินหลัก ในการจัดตั้งกรมนาวิกโยธิน เพราะต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ กรมนาวิกโยธิน ได้จัดตั้งขึ้นที่สัตหีบ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาท ชายแดนด้านตะวันออก ระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส กรมนาวิกโยธินได้จัดกำลังเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ที่มีชื่อเรียกว่า "กองพลจันทบุรี" เข้าปฏิบัติการรบหลายครั้ง และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารนาวิกโยธิน ก็ได้เข้าปฏิบัติการในเขตจังหวัดชลบุรี และได้ส่งกำลังส่วนหนึ่ง ไปรักษาพื้นที่ในเขต ๔ รัฐมาลายู และจังหวัดภูเก็ต ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อสงครามสงบลง ทหารนาวิกโยธินส่วนหนึ่ง ได้ไปช่วยปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ.๒๔๙๓ ได้เกิดความไม่สงบขึ้น ในจังหวัดภาคใต้ กองพันนาวิกโยธินที่ ๖ ได้ถูกส่งให้ไปรักษาความสงบ อยู่ที่จังหวัดนราธิวาส จนกระทั่งเหตุการณ์สงบลงชั่วคราว จึงได้ถอนทหารหน่วยนี้ กลับที่ตั้งปกติ หลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ ทำให้รัฐบาลขณะนั้น ได้สั่งยุบกรมนาวิกโยธิน ทำให้ทหารนาวิกโยธินกระจัดกระจาย ไปอยู่ตามหน่วยต่างๆ เป็นเวลา ๔ ปี ในระยะนี้สถานการณ์โลกได้เกิดสงครามเย็นขึ้น ระหว่างค่ายประชาธิปไตยและค่ายคอมมิวนิสต์ จะนับว่าเป็นความโชคดีของทหารนาวิกโยธินก็ได้ เพราะประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจาก สหรัฐอเมริกาทั้งทางด้านทหาร และด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการช่วยเหลือทางทหาร ให้แก่กองทัพเรือ ต่อมาทางรัฐบาลและกองทัพเรือ ได้เห็นความจำเป็น ของหน่วยทหารนาวิกโยธิน จึงได้อนุมัติให้จัดตั้งกรมนาวิกโยธินขึ้นใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ทหารนาวิกโยธิน จึงถือเอาวันที่ ๓๐ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนากรมนาวิกโยธินยุคใหม่ พ.ศ.๒๕๐๔ เกิดกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร ทำให้เหตุการณ์ชายแดน ในเขตจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนถึง พ.ศ.๒๕๑๓ จึงได้จัดตั้งกองกำลังด้านจันทบุรี-ตราดขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ป้องกันชายแดนด้านจันทบุรีและจังหวัดตราด มาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๖ ทหารนาวิกโยธินได้ปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแผนยุทธการสามชัย และปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในเขตจังหวัดเชียงราย ตามแผนยุทธการผาภูมิ ในปี พ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๑๗ ในขณะเดียวกัน กำลังส่วนหนึ่งของทหารนาวิกโยธิน ก็ได้ลงไปปฏิบัติการปราบปราม ขบวนการก่อการร้าย และโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายู ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และยังปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ ในจังหวัดนราธิวาสมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดตั้งเป็นหน่วยเฉพาะกิจ นาวิกโยธินภาคใต้ ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ ทหารนาวิกโยธิน ได้ปฏิบัติการในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างกล้าหาญ สามารถยึดค่ายกรุงชิงได้ และได้ปฏิบัติการอยู่จนถึง พ.ศ.๒๕๒๔ จึงถอนกำลังกลับ นับเป็นเกียรติประวัติ ของทหารนาวิกโยธินอย่างยิ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เกิดกรณีความไม่สงบขึ้นหลายครั้ง ซึ่งกองทัพเรือได้ส่งกำลังทหารนาวิกโยธิน ไปปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น ตามแผนการ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทหารนาวิกโยธิน ได้ปฏิบัติการป้องกันประเทศ อยู่ในเขตจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้ทำการสู้รบตลอดเวลา นับตั้งแต่ยุทธการบ้านหาดเล็ก ยุทธการบ้านโขดทราย ยุทธการบ้านหนองกก ยุทธการบ้านกระดูกช้าง ยุทธการบ้านชำราก และการป้องกันประเทศ ด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในยุทธการหาดดอนน้อย จังหวัดนครพนม จากการปฏิบัติการสู้รบ ทั้งในอดีตและกำลังปฏิบัติภารกิจต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ทหารนาวิกโยธิน ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ไปเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นการเสียสละที่สูงยิ่ง สมควรได้รับการสรรเสริญยกย่อง เป็นตัวอย่างแก่ทหารนาวิกโยธินรุ่นหลัง ทหารนาวิกโยธินที่ยังรอดชีวิตอยู่ในปัจจุบัน จึงพร้อมใจกัน สร้างอนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธินขึ้น เพื่อเป็นเกียรติ และรำลึกถึงทหารนาวิกโยธิน ที่ได้เสียชีวิตในการรบ เยี่ยงทหารนาวิกโยธิน |
LINKS | |
http://www.navy.mi.th/marines/ Official Royal Thai Marines Website [Thai] | |
http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/eng_thegreat.html Additional Information on King Taksin the Great. [English] |
The text and images contained on this website are Copyright 2005 'nationreligionking.com'. They are protected under international copyright treaties and conventions. All rights are reserved and they may not be used for any purpose without the express written permission of the copyright holder. Some images and text on this site are from other sources and all attempts have been made to properly credit those sources. In the event that an image or text is used without reference please contact us to have this material properly credited or removed. This website is proudly sponsored by Sea Air Thai Co, Ltd.. This website is not affiliated with the Police, Military or any other Government Representatives of the Kingdom of Thailand. |